วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การกลั่นแบบจัดเต็ม!!!

  




ก็สำหรับหัวข้อในคราวนี้นั้นทางตัวกระผมจะขอแนะนำเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันดิบสีดำๆเหนียวๆเหล่านี้ ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เรารู้จักและใช้กันในชีวิตประจำวันจนเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในสมัยนี้ไม่ต่างจากอากาศที่เราต้องหายใจเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในทุกวัน


เชื่อเหลือเกินว่าผู้อ่านหลายๆท่านคงจะถามว่า ไอ้เจ้าน้ำมันดิบสีดำๆเหล่านี้จะสามารถกลั่นและแบ่งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ได้บ่าง มันก็แค่ของเหลวหนืดสีเขียวที่ดูดขึ้นมาผืนพิภพ เป็นแค่ซากพืชซากสัตว์ไม่ใช่หรืออย่างไรกัน ท่าถามเช่นนั้นแล้ว ผมว่าเราลองไปเจาะลึกถึงกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบกันเถอะครับ


การกลั่นลำดับส่วน (เสียงโดราเอม่อน)

 แน่นอนว่าสำหรับการกลั่นนั้นแต่ละบริษัทก็จะมีรายละเอียดและวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่กำลัง ตามแต่ความสามารถ ตามแต่ความคุ้มค่า และความก้าวหน้าในเทคโนโลยีของแต่ละบริษัท แต่สำหรับวิธีการกลั่นที่นิยมและใช้กันโดยทั่วไปนั้นเรียกวิธีการนี้ว่า "การกลั่นลำดับส่วน" ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นที่หอกลั่นลำดับส่วน โดยวิธีการกลั่นนี้จะอาศัยหลักการของจุดเดือดและจุดควบแน่นของสิ่งที่แฝงอยู่ในน้ำมันดิบสีดำหนืดเหล่านี้ที่มีความแตกต่างกันออกไป


สำหรับหอกลั่นลำดับส่วนนั้นจะมีรูปร่างลกษณะคล้ายทรงกระบอก สูงประมาณ 30 เมตร ภายในจะแบ่งเป็นชั้นๆโดยชั้นบนสุดจัมีอุณหภูมิที่ต่ำที่สุด ไล่ลงมาเรื่อยจนถึงชั้นล่างที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด


แต่ก่อนที่น้ำมันดิบจะเข้ามาในหอกลั่นนั้นน้ำมันดิบจะถูกแยกน้ำออกก่อน และถูกนำลำเลียงผ่านท่อที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 340 - 385 องศาเซลเซียส เพื่อให้น้ำมันเหล่านั้นกลายเป็นไอ หลังจากที่น้ำมันเหล่านั้นถูกส่งเข้าไปในหอกลั่นแล้ว ไอน้ำมันก็จะลอยขึ้นไปและเกิดการควบแน่นตามชั้นต่างๆที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ



• น้ำมันส่วนที่เบากว่า (Lighter fractions) เช่น น้ำมันเบนซิน และพาราฟิน ซึ่งมีค่า
อุณหภูมิของการควบแน่นต่ำ จะกลายเป็นของเหลวที่ห้องชั้นบนสุด

• น้ำมันส่วนกลาง (Medium fractions) เช่น ดีเซล น้ำมันแก๊ส (Gas oils) และ
น้ำมันเตา (Fuel oils) บางส่วนจะควบแน่นและกลั่นตัวที่ระดับต่างๆ ตอนกลาง
ของหอกลั่น

• น้ำมันหนัก (Heavy fractions) เช่น น้ำมันเตา และสารตกค้างพวกแอสฟัลต์ จะ
กลั่นตัวที่ส่วนล่างสุดของหอกลั่น ซึ่งมีอุณหภูมิสูงและจะถูกระบายออกไปจาก
ส่วนฐานของหอกลั่น


และหลังจากนั้นผลิตภัณฑ์ต่างๆก็จะถูกนำมาปรับปรุงตามกระบวนการทางเคมีเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

เทอร์มอลแครกกิง (Thermal cracking)  

สำหรับการกลั่นแบบนี้นั้นเป็นการกลั่นเพื่อน้ำมันเบนซิน เพราะน้ำมันเบนซินจะได้ถึงร้อยละ 50 ในกระบวนการนี้ โดยการกลั่นแบบนี้จะทำโดยการนำน้ำมันดิบมาทำให้เกิดการแตกตัวในถึงที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 1000 องศาฟาเรนไฮต์ และแรงดันกว่า 1000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ด้วยเหตุนี้สารประกอบไอโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ก็จะเกิดการแตกตัวเป็นน้ำมันที่เบากว่า และน้ำมันส่วนที่เบานี้ก็จะกลายเป็นไอและนำเข้าไปในหอกลั่นลำดับส่วนต่อไป

การกลั่นแบบคาตาลิติกแครกกิง (Catalytic cracking)

 ในกระบวนการนี้จะมีการเพิ่มตัวเร่งปฎิกิริยาเข้าไปในกระบวนการ เพื่อช่วยให้โมเลกุลแตกตัวได้ดีขึ้น และยังมีการใส่ผงแพลทินัม หรือดินเหนียว เพื่อให้กระบวนการแตกตัวเป็นน้ำมันส่วนที่เบาเช่นน้ำมัน เบนซิน อีกด้วย (กระบวนการนี้เกิดขึ้นในหอกลั่นลำดับส่วน)

การกลั่นแบบโพลีเมอไรเซชั่น (Polymerization)

 กระบวนการนี้เราจะไม่ได้ทำให้น้ำมันที่หนักแตกตัวมาเป็นน้ำมันที่เบา แต่เราได้นำน้ำมันที่เบาที่สุดหรือก็คือส่วนของแก๊ซ ซึ่งส่วนนี้ส่วนใหญ่มักจะถูกเผาทิ้งไป แต่ในกระบวนการนี้จะนำแก๊ซเหล่านั้นมารวมกับเป็นสารประกอบที่ใหญ่ขึ้น ทำให้บริมาณน้ำมันเบนซินมากขึ้น และยังเป็นการเพิ่มค่าออกเทน หรือค่าความต้านทานการจุดระเบิดอีกด้วย (เครื่องยนต์เบนซินของแต่ละยี่ห้อก็จะมีความต้องการค่าออกเทนที่แตกต่างกันออกไป

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)

กราบสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านด้วยนะครับ ก็ครั้งนี้เป็นการเขียนบล๊อคครั้งแรกของกระผม ก็จริงที่ตัวกระผมนั้นได้ทำงานทางด้านการแปลและการเขียนอยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้านับในเรื่องการเขียนบลีอค ตัวกระผมเองก็ยังเป็นแค่เด็กที่เพิ่งหัดเดินเพียงเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วหากเกิดข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ในตอนแรกบล๊อคนี้อาจจะดูไม่มีอะไรมาก แต่ในอนาคตทันทีที่ผมเข้าใจระบบของการสร้างบล๊อคดียิ่งขึ้นกว่านี้ ตัวกระผมเองจะรีบนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับปรุงแก้ไขบลีอคนี้ให้ดียิ่งยิ่งขึ้นไปอย่างแน่นอนครับ

เอาล่ะครั้งนี้ก็เป็นโพสต์แรกก็จะขอเกริ่นนำเกี่ยวกับเรื่องปิโตรเลียมโดยคร่าวๆก่อนก็แล้วกันนะครับ สำหรับท่านผู้อ่านแล้วเนี้ยตัวกระผมเชื่อเหลือเกินว่าคงจะเคยได้ยินคำว่า ปิโตรเลียมกันมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยส่วนใหญ่จะได้ยินตามสื่อสิ่งพิมพ์ตามโทรทัศน์ต่างๆ และแน่นอนว่าความหมายอันดับต้นๆที่สื่อต่างๆต้องการถ่ายทอดมาถึงเราก็คือเป็นพลังงานสำคัญที่ใช้กันในชีวิตประจำวันในปัจจุบันใช่ครับ เราไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่าพลังงานหลักของเราในตอนนี้ก็คือสิ่งที่เรียกว่า น้ำมัน และมันกำลังหมดลงไปจากโลกนี้ด้วยอัตราเร็วที่น่าใจหาย ก็จริงที่ถ้าเรามองเพียงแค่ในอนาคตอีกไม่กี่สิบปีข้างนี้มันอาจจะไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรงใหญ่โตอะไร แต่ถ้าหากมองในมุมที่กว้างออกไปแล้วปัญหานี้อาจจะเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของโลกที่กำลังนับถอยหลังเข้าสู่วิกฤติเลยก็ว่าได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้คือการรู้จักการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ก็จริงที่เราไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าเราไม่สามารถที่จะหยุดความเป็นไปของโลก ไม่สามารถที่จะหยุดวัฎจักรที่จะทำให้พลังงานเหล่านี้หมดไปจากโลกได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราพอจะทำได้ในตอนนี้ก็คือการรู้จักการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อที่จะให้พลังงานที่เหลืออยู่นี้อยู่คู่กับโลกของเราไว้ให้นานที่สุด เพื่อที่จะในสักวันหนึ่งเราจะมีพลังงานรูปแบบใหม่ที่สามารถมาทดแทนพลังงานตรงส่วนได้อย่างสมบูรณ์แบบ ให้โลกนี้สามารถดำเนินต่อไปด้วยความหิวกระหายอันไร้ขีดกำจัดของมนุษย์ต่อไป

ปิโตรเลียมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? ปิโตรเลียมนั้นเกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ ผสานกับความร้อนและแรงดันของผืนดินจนเกิดเป็นของไหลหนืดที่เราเรียกมันว่า ปิโตรเลียม ปิโตรเลียมนั้นเรามักจะพบมันในทะเลเป็นส่วนใหญ่เนื่องด้วยทะเลที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งแรงดันของน้ำที่ช่วยเร่งการแปรสภาพจากซากเหล่านั้นให้กลายเป็นปิโตรเลียม ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นแท่งขุดปิโตรเลียมตั้งตระหง่านอยู่กลางทะเลกันเป็นส่วนใหญ่


ต้องมีใครหลายๆคนแน่ๆที่คิดว่าแท่งขุดเจาะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ น่าหลงไหล แต่สำหรับผมแล้วมันดูเหมือนโรงงานนรก ที่บรรทุกเข็มแห่งความโลภที่กำลังสูบกลืนกัดกินชีวิตของโลกไปอย่างช้าๆ แน่นอนว่าธุรกิจก็คือธุกิจที่ต้องนึกถึงผลประโยชน์ของตัวเองเป็นสำคัญ จึงเป็นการยากเหลือเกินที่คนตัวเล็กๆอย่างเราจะไปทำอะไรได้ เพราะท้ายที่สุดเราก็จำเป็นต้องดำรงชีวิตด้วย พลังงาน ชีวิตของโลกเรานี้อยู่ดี



ถึงแม้ตัวกระผมจะบอกว่าเราสามารถเจอปิโตรเลียมได้ในท้องทะเลเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าเราขุดตรงไหนแล้วของทะเลแล้วจะเจอปิโตรเลียมทันที ด้วยเหตุนี้ก่อนที่เราจะทำการสร้างแท่นขุดเจาะเราจึงต้องมีการประเมินความคุมค่าของการสร้างแท่นเหล่านี้ เนื่องด้วยการลงทุนสร้างแท่นขุดเจาะสักแท่งนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ก็อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าธุรกิจก็คือธุรกิจ ผลกำไรย่อมต้องมาเป็นอันดับหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยเหตุนี้จึงมีเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูล ประเมินคุ้มได้คุ้มเสีย และแน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีในการช่วยตรวจสอบอีกด้วยเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำที่สุดในการลงทุนกับแท่นขุดเจาะสักแท่นหนึ่ง


สำหรับแหล่งรวมของปิโตรเลียมที่คุ้มค่าต่อการขุดเจาะนั้นเกิดขึ้นมาจากการที่ปิโตรเลียมได้ไหลมาตามหินเนื้อหยาบ หรือก้คือหินที่มีรูพรุน ก็อย่างที่รู้กันว่าปิโตรเลียมเป็นของไหลด้วยธรรมชาติของมันหากมีความแตกต่างของระดับพื้นที่มันก็ย่อมที่ไหลไปเรื่อยๆ และเมื่อมันไหลไปจนกระทั่งเจอหินอีกรูปแบบหนึ่งหรือก็คือหินเนื้อละเอียด ซึ่งไม่มีรูพรุนให้พวกมันไหลผ่านต่อไปได้ พวกปิโตรเลีมตัวน้้อยๆเหล่านั้นก็จะค้างอยู่ตรงบริเวณนั้นไม่สามารถไปไหนต่อได้ ด้วยสาเหตุนี้ตรงบริเวณนั้นจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า บ่อ ขึ้น และบ่อนั้นนั่นเองที่คุ้มค่าต่อการทำแท่นขุดเจาะเพื่อที่จะดึงปิโตรเลียมจำนวนมหาศาลที่ค้างอยู่ตรงบริเวณนั้นขึ้นมาสูผืนผิวดินเป็นพลังงานขับเคลื่อนโลกของเราต่อไปในปัจจุบัน

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนนี้ได้ที่
youtu.be/RZduB3SO9Ks

(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)(○・▽・○)